วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553
CD-rom
ความเป็นมาของ ซีดีรอม
ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory )มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 เมื่อบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และโซนี่ (Sony)ได้ร่วมมือกันที่จะผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง (CD) ซึ่งในขณะนั้นฟิลิปป์ได้พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกวางจำหน่ายแล้ว และขณะเดียวกันโซนี่ก็ได้ทำการวิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิทัลมานานนับสิบปี ในตอนแรกต่างฝ่ายต่างจะกำหนดมาตรฐานคอมแพคดิสก์ที่จะออกวางจำหน่าย แต่ท้ายที่สุดทั้งสองบริษัทก็ได้ตกลงที่จะกำหนดมาตรฐานร่วมกัน โดยในปี 1982 ทั้งสองบริษัทได้กำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบันทึกเสียง วิธีการอ่านซีดีและขนาดของซีดี โดยกำหนดเป็น 5 นิ้ว ซึ่งกล่าวกันว่าการที่กำหนดขนาดของแผ่นดิสก์เป็น 5 นิ้วนั้นก็เพราะว่าแผ่นดิสก์ขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ทั้งสองบริษัทยังคงร่วมมือกันตลอดทศวรรษ 1970 ได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดี กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาวีดีรอมที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านแผ่นซีดีรอม ก็คือ เครื่องอ่านซีดีรอม (CD-ROM DRIVES) ซึ่งในปัจจุบันเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมี ในอดีตนั้นซีดีรอมใช้เพื่อเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งการบันทึกไว้ในแผ่นฟลอปปี้ดิสก์จะต้องใช้ฟลอปปี้ดิสก์เป็นจำนวนมาก ซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมในการเป็นสื่อบันทึกข้อมูล ปัจจุบันเครื่องอ่านซีดีรอมได้เปลี่ยนแปลงจุดประสงค์ในการใช้จากเดิมเพื่อใช้งานบันทึกข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ กลายมาเป็นเพื่อความบันเทิงในการดูหนังฟังเพลง เครื่องอ่านซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาถูกลงอย่างมาก มันจึงกลายเป็นอุปกรณ์และกลายเป็นสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่างๆเพื่อจำหน่ายและแจกจ่ายให้กับลูกค้าของตนเนื่องจากความจุที่มากกว่าและราคาที่ถูกกว่า
การทำงานของเครื่องซีดีรอมเครื่องซีดีรอมมีส่วนประกอบภายในที่ทำหน้าที่ดังนี้
1. ตัวกำเนิดเลเซอร์ เป็นแหล่งกำเนิดความเข้มต่ำและส่งไปยังกระจกสะท้อนเลเซอร์
2. เซอร์โวมอเตอร์ ทำหน้าที่ปรับให้เลเซอร์ตกลงแทร็กที่ต้องการด้วยการรับคำสั่งจากไมโครโปรเซสเซอร์ และมีหน้าที่ปรับมุมของกระจกสะท้อนเลเซอร์ด้วย
3. เมื่อเลเซอร์กระทบดิสก์ จะมีการหักเหไปยังเลนส์ที่อยู่ด้านใต้ของดิสก์จากนั้นสะท้อนไปยังเครื่องแยกลำแสง
4. เครื่องแยกแสงจะส่งเลเซอร์ไปยังอีกเลนส์หนึ่ง
5. เลนส์อันสุดท้ายจะส่งเลเซอร์ไปยังเครื่องตรวจจับแสงที่เปลี่ยนคลื่นแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
6. ไมโครโปรเซสเซอร์จะแผลงสัญญาณที่ได้รับและส่งเป็นข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดีรอม
ต้องพิจารณาข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอม โดยพิจารณาในด้านต่อไปนี้ข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องอ่านซีดีรอมที่ควรพิจารณาก่อนการเลือกซื้อเครื่องอ่านซีดีรอมเครื่องมือทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกเกี่ยวกับความสามารถของเครื่องซีดีรอม ซึ่งเปรียบกับความสามารถของเครื่องอ่านซีดีรอม โดยทั่วไปแล้วข้อมูลทางเทคนิคของเครื่องซีดีรอมจะบอกให้ทราบลักษณะและประสิทธิภาพของเครื่อง ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิคอยู่ 4 อย่างด้วยกันคือ อัตราการถ่ายทอดข้อมูล เวลาในการเข้าถึงข้อมูล บัฟเฟอร์(ถ้ามี) และชนิดของอินเตอร์เฟชที่ใช้อัตราการถ่ายทอดข้อมูล(Data Transfer Rate)เป็นสิ่งที่บอกถึงจำนวนข้อมูลที่เครื่องอ่านซีดีรอมอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอมและส่งข้อมูลจุดนั้นให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ใช้วัดอัตราถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นมาตรฐานคือกิโลไบต์ต่อวินาที(kb/s) อัตราการถ่ายทอดข้อมูลเป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดที่เครื่องทำงานได้ เครื่องที่มีตัวเลขอัตราการถ่ายทอดข้อมูลมากยิ่งดีเวลาในการเข้าถึงข้อมูล (Access Time)เวลาในการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องซีดีรอม ก็มีการวัดที่เหมือนกับการวัดเวลาที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ คำจำกัดความอีกคำหนึ่งของเวลาในการเข้าถึงข้อมูลคือ เวลาระหว่างที่เวลาเครื่องได้รับคำสั่งในการอ่านข้อมูลและเวลาที่เครื่องเริ่มอ่านข้อมูลที่ต้องการ เวลาที่ใช้จะถูกบันทึกในหน่วยของมิลลิวินาที (ms) เวลาที่เครื่องใช้สำหรับเริ่มอ่านข้อมูลจากส่วนต่างๆของดิสก์เรียกว่า อัตราการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ย (Average Access Rate) เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเฉลี่ยของซีดีรอมนั้นอยู่ในช่วง 500 ถึง 200 มิลลิวินาที ซึ่งช้ากว่าของฮาร์ดดิสก์(ฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 20 มิลลิวินาที)บัฟเฟอร์(Buffer)เครื่องซีดีรอมบางเครื่องจะมีบัฟเฟอร์อยู่ภายในเครื่อง บัฟเฟอร์เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องวีดีรอม ใช้สำหรับเก็บข้อมูลให้มีจำนวนมากพอก่อนที่จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามปกติเครื่องซีดีรอมมีบัฟเฟอร์ขนาด 64 กิโลไบต์
ข้อดีของการมีบัฟเฟอร์คือ
1. ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับข้อมูลในอัตราคงที่
2. ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น
อินเตอร์เฟช(Interface)อินเตอร์เฟชสำหรับเครื่องซีดีรอมใช้สำหรับการต่อสายสัญญาณระหว่างเครื่องซีดีรอมกับคอมพิวเตอร์ จึงมีความสำคัญสำหรับการถ่ายทอดข้อมูลจากเครื่องซีดีรอมไปยังคอมพิวเตอร์- อินเตอร์เฟช SCSI (Small Computer System Interface)แบบมาตรฐาน หมายถึงการ์ดที่สามารถใช้กำลังมาตรฐานชุดเดียวกันกับอุปกรณ์เพิ่มเติมได้หลายชนิด การ์ดอะแด๊ปเตอร์เหล่านี้ทำให้ใช้อุปกรณ์ต่อเพิ่มได้หลายตัวโดยใช้การ์ดเพียงอันเดียว ทำให้ลดความยุ่งยากจากการเพิ่มการ์ดในกรณีที่มีอุปกรณ์ต่อเพิ่มใหม่ ด้วยข้อดีนี้ทำให้การ์ดแบบ SCSI เป็นที่นิยมในการต่ออุปกรณ์ต่อเพิ่ม เช่นการต่อเครื่องซีดีรอมกับคอมพิวเตอร์- SCSI-2 และ ASPI SCSI แบบมาตรฐานจะมี่สามารถใช้งานกับอุปกรณ์ต่อพ่วงตัวอื่นที่มีจำหน่ายทีหลังได้ จึงต้องมีการปรับปรุงการ์ด SCSI-2 ซึ่งมีสิ่งปรับปรุงเพิ่มคือSCSI Fast มีความเร็วเป็นพิเศษSCSI Wide ขยายขนาดของบัสส่งข้อมูล ทำให้การถ่ายทอดข้อมูลผ่านการ์ดได้มากขึ้นScatter/Gather ทำให้การอ่านและการบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นส่วน ASPI(Advance SCSI Programming Interface) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาไดร์ฟเวอร์สำหรับฮาร์ดแวร์ตามมาตรฐาน SCI ทำได้ง่ายขึ้นนอกจากข้อมูลทางเทคนิคแล้วการตัดสินใจซื้อเครื่องอ่านซีดีรอมต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วยดังนี้ปัจจัยที่ควรพิจารณานอกเหนือจากปัจจัยทางเทคนิคในการเลือกซื้อเครื่องซีดีรอมตัวเครื่องฝุ่นจัดเป็นศรัตตรูร้ายสำหรับเครื่องซีดีรอม ผู้ผลิตบางรายป้องกันด้วยการแยกส่วนที่เป็นเลนส์ออกจากส่วนที่ใช้ใส่ซีดี บางรายอาจมีช่องกักฝุ่นสองช่องทั้งทางเข้าและทางออกอุปกรณ์เหล่านี้มีส่วนช่วยยืดอายุของเครื่องได้แคดดี้เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ซีดีรอมการใช้แคดดี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย- เครื่องที่ไม่มีแคดดี้ จะทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาในการใส่ซีดีในแคดดี้ก่อนใส่ซีดีเข้าเครื่อง แต่มีข้อควรระวังอยู่สองประการคือ ต้องแน่ใจว่าส่วนที่เป็นลิ้นชักของเครื่องที่ใช้สำหรับใส่ซีดีนั้นสะอาดไม่มีฝุ่น และถ้าหากกลไกของลิ้นชักเสียต้องส่งเครื่องซีดีรอมเข้าซ่อมทั้งเครื่อง- เครื่องที่มีแคดดี้ ข้อเสียคือจะทำให้เสียเวลาในการนำซีดีเข้าออก ข้อดีคือทำความสะอาดได้ง่ายและเมื่อแคดดี้ชำรุดก็เปลี่ยนใหม่ได้ระบบทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติปัจจุบันเครื่องซีดีรอมบางรุ่นมีการติดตั้งกลไกทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติ ถ้าไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดควรพิจารณาเครื่องที่มีระบบทำความสะอาดเลนส์โดยอัตโนมัติเครื่องแบบติดตั้งภายในกับเครื่องต่อพ่วงหากมีพื้นที่ทำงานบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นก็ควรซื้อเครื่องซีดีรอมแบบต่อพ่วงเพราะจะสามารถย้ายได้และสามารถต่อกับคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่อง แต่หากไม่ค่อยมีพื้นที่ว่างบนโต๊ะทำงานและมีอุปกรณ์ภายในที่ใช้อะแด๊ปเตอร์อยู่แล้วก็ควรใช้แบบติดตั้งในเครื่อง
แผ่นซีดีรอมแผ่นซีดีรอมส่วนใหญ่ใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียวเท่านั้นดังที่เรียกว่า Single side media และตัวเครื่องซีดีรอมเองก็มีเพียงหัวอ่านเพียงด้านเดียวเช่นกัน CD-ROM มีความสามารถในการบันทึกข้อมูลได้มาก ซึ่งแผ่น CD-ROM จะมี 2 ขนาดความจุข้อมูล คือ 650 MB และ700 MB แผ่น CD เป็นแผ่นพลาสติกเคลือบ ลักษณะวงกลม มีช่องตรงกลาง ขนาด 4.8 นิ้ว (12 cm.) หนา 1.2 มิลลิเมตร ซึ่งในแผ่นซีดีรอมจะมีโครงสร้างดังนี้
โครงสร้างของแผ่นซีดีรอม
1. ชั้นพลาสติค (Polycarbonate Plastic) เป็นชั้นที่มีความหนาและน้ำหนักมากที่สุดทำด้วยสารจำพวกโพลีคาร์บอเนต หน้าที่ของชั้นนี้คือป้องกันความเสียกายของข้อมูลที่อยู่ในชั้นถัดไปเป็นชั้นที่ทำหน้าที่คล้ายกับเลนส์ในการโฟกัสหาข้อมูลของแสงเลเซอร์ที่ยิงมาจากเครื่องอ่านซีดี
2. ชั้นข้อมูล เป็นสารอลูมิเนียม (aluminum) ซึ่งฉีดลงบนแผ่นพลาสติก polycarbonate ให้มีลักษณะเป็นร่องๆ ใช้เก็บข้อมูลต่างๆ โดยโครงสร้างแล้วจะแบ่งเป็นแทร็กที่เรียงต่อกันเป็นวงกลมคล้ายก้นหอย
3. ชั้นสะท้อนแสงกลับ เป็นชั้นทำด้วยโลหะ เพื่อให้แสงเลเซอร์ที่ยิงเข้ามาอ่านข้อมูลสะท้อนกลับไปแปลงเป็นรูปแบบข้อมูลที่เครื่องเล่นได้ เหตุที่เรามองเห็นแผ่นซีดีเป็นมันเงาก็เนื่องมาจากชั้นสะท้อนแสงกลับของแผ่นซีดีนี้เองบนชั้นนี้จะมีสารอะครีลิค (acrylic) เคลือบบน Aluminium เพื่อป้องกันผิว ส่วนป้องกัน เป็นส่วนที่เคลือบไว้บางๆบนชั้นสะท้อนแสงกลับเพื่อป้องกันไม่ให้ชั้นสะท้อนแสงกลับได้รับความเสียหาย ซึ่งจะมีผลกระทบในความสามารถของการอ่านข้อมูลบนแผ่นโดยตรง
4. ชั้นสลากหรือสติ๊กเกอร์(Label) เป็นชั้นที่อยู่ด้านบนสุด นอกจากใช้เป็นฉลากบ่งบอกรายละเอียดในแผ่นซีดีแล้ว ยังช่วยป้องกันความเสียหายให้ชั้นสะท้อนแสงกลับอีกด้วย
ประเภทของซีดีรอม เมื่อดูจากสภาพภายนอกจะเห็นว่าซีดีรอมแต่ละแผ่นมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่แท้ที่จริงนั้นซีดีรอมแบ่งออกได้หลายประเภท การแยกประเภทของซีดีรอมนั้น แยกตามข้อกำหนดของหนังสือที่ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตสื่อเก็บข้อมูลซีดีรอม เช่น Yellow CD หมายถึง ซีดีรอมที่ถูกผลิตตามข้อหนังสือหน้าปกสีเหลือง เป็นต้น ปัจจุบันแบ่งประเภทของซีดีรอมออกได้หลายประเภท ตามสีของหน้าปกหนังสือที่กำหนดลักษณะของซีดีรอม ดังต่อไปนี้
- Yellow CD หรือ DATA Storage CD
- Red CD / Audio CD
- CD-ROM XA หรือ Multi-session CD หรือ ISO 9660
- Mixed Mode CD
Yellow CD หรือเรียกว่า DATA Storage CD หรือ CD-ROMเป็นที่รู้จักกันในชื่อของซีดีรอมประเภทที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล (Data CD) มักพิมพ์คำว่า Data Storage บนแผ่น แผ่นซีดีรอมประเภทนี้ถูกนำมาเก็บข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นแนวเกลียว (Spiral) จากวงรอบ (Track) ส่วนในของแผ่นไปยังวงรอบส่วนนอก ข้อมูลจะถูกเขียนครั้งละหนึ่งบิตตามลำดับ. โครงสร้างของการบันทึกข้อมูลทางตรรกะ (Logical Format) ข้อมูลจะถูกบันทึกในลักษณะของแผนภูมิต้นไม้ (Tree) และไดเรคทอรี่ (Directory) และไฟล์ ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจ การใช้งาน DATA-CD
- ใช้เก็บข้อมูล
- สำหรับสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ หรือจากสื่อบันทึกข้อมูลชนิดอื่นๆ
- สำหรับทดสอบบันทึกข้อมูลก่อนที่จะส่งแผ่นซีดีไปเป็นมาสเตอร์
- สำหรับการบันทึกข้อมูลเพื่อใช้งานภายในสำนักงาน
Red CD / AudiO CD รู้จักกันแพร่หลายในชื่อของ Audio CD หรือคอมแพ็คดิสก์ คือแผ่นซีดีรอมที่มีไว้สำหรับฟังเพลง ซึ่งประกอบด้วย Track ของ Digital Audio ที่ถูกบันทึกลงไปใน Compact Disc - Digital Audio (CD-DA) รูปแบบการเก็บข้อมูลเพลงเป็นรูปแบบสากล คือนำไปใช้ได้ทั่วโลกและใช้ได้กับหลายๆ สื่อ CD-DA แผ่นหนึ่งมี Track ได้ 99 Track
CD-ROM XA หรือ Multi-session CD Multi-session CD คือซีดีรอมที่ถูกผลิตตามมาตรฐาน ISO 9660 ข้อมูลในซีดีรอมจะมีมากกว่า 1 session หนึ่ง session คือการบันทึกข้อมูลต่อเนื่องกันหนึ่งส่วน เมื่อปิด Session ดังกล่าว และเปิด Session ใหม่ ข้อมูลก็จะถูกบันทึกโดยไม่ต่อเนื่องกับ session เดิม ทำให้ใช้ประโยชน์จากซีดีรอมแบบ Multi-session ในการ Update ข้อมูลหรือบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ปกติซีดีรอม 1 แผ่น มีได้ 48 session อย่างไรก็ตาม Multi - Session CD ใช้งานได้ก็ต่อเมื่อใช้กับไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi - Session ได้ ประโยชน์จากการใช้ซีดีรอมแบบ Multi
- Session
- การสำรองข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
- สำหรับใช้ในการทำข้อมูลที่ต้องการแจกจ่ายเมื่อมีการอัปเดทข้อมูล
ซีดีรอมที่ออกแบบผสมกันระหว่าง Data และ Audio ปกติ CD-DA จะถูกบันทึกข้อมูลที่เป็นส่วนของ audio และใช้งานกับเครื่องเสียงภายในบ้านหรือเครื่องเสียงติดรถยนต์รวมทั้งคอมพิวเตอร์ได้ แผ่นซีดีแบบ Mixed Mode นั้นถูกผลิตให้มีทั้ง DATA และ Audio ในแผ่นเดียวกัน เมื่อต้องการรวมเอาข้อความ ภาพกราฟิกและเสียงเข้าไปในซีดีรอม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกในส่วนของ Data Track และข้อมูล Audio จะถูกบันทึกไว้ในส่วนของ CD-DA ซึ่งในกรณีนี้ทำโดย 2 วิธี
- Mixed Mode
- CD Extra
Mixed Mode Classic Mixed Mode หรือ Mixed Mode ยุคเบื้องต้นนั้นคือแผ่นซีดีรอมที่มีข้อมูลใน Track แรก ตามด้วย Audio ใน Track ต่อไปอีกหนึ่ง Track หรือหลายๆ Track โดยบรรจุใน session เดียว Mixed-Mode CD ใช้งานได้ดีกับคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับ Classic Mixed Mode เนื่องจากหากบังเอิญว่าข้อมูลใน Track แรกนั้นนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ แต่กรณีนี้บรรดาเครื่องเล่นซีดีของชุดเครื่องเสียงจะไม่สามารถใช้งานได้ ตรงกันข้ามอาจเกิดความเสียหายได้ เพราะใน Track ของข้อมูลซึ่งเป็น Track แรกนั้นคำนวณไม่ได้ว่าปริมาณสัญญาณที่ถูกส่งออกมานั้น อาจจะมากขนาดที่ทำให้ลำโพงเสียหายได้ ถึงแม้ว่าเครื่องเล่นซีดีบางตัวจะสามารถตรวจจับ CD-track และอ่านข้ามไป แต่โดยปกติเครื่องเล่นซีดีจะไม่มีฟังก์ชั่นนี้ บรรดาผู้ผลิตเครื่องเล่นซีดีที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการใช้งานซีดีรอมประเภทนี้ต่างก็กลัวปัญหา และเริ่มมองหาวิธีการใหม่ๆ นั้นก็คือ CD Extra CD Extra CD Extra หรือที่รู้จักกันในชื่อของ CD Plus หรือ Enhance CD เป็นวิธีการแก้ปัญหาเมื่อผู้ผลิตซีดีรอมต่างก็มองเห็นว่าผู้ผลิตไดรฟ์ซีดีรอมปัจจุบันผลิตแต่ไดรฟ์ที่สามารถอ่านข้อมูลแบบ Multi-Session หมดแล้ว CD Extra จะประกอบด้วย 2 session session แรกเป็น CD-DA ที่สามารถมีได้ถึง 98 Track ประกอบด้วย Audio Track และ session ที่สองเป็น Data Track ซึ่งถูกเขียนในรูปแบบของ CD-ROM XA เมื่อเอาแผ่นซีดีที่เป็น CD Extra มาใช้กับเครื่องเล่นซีดี session แรกที่เป็นส่วนของ Audio จะถูกนำมาเล่นแต่เครื่องเล่นซีดีจะไม่อ่านข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจาก Session แรก ดังนั้นส่วนของ Data Track จึงไม่ถูกเล่นในเครื่องเล่นซีดี เมื่อนำเอาซีดีรอมดังกล่าวมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่าน session สุดท้ายก่อน ดังนั้นตัวของ Data จึงถูกอ่านในครั้งแรก คุณลักษณะของ CD Extra ถูกระบุไว้ใน Blue book Standard อย่างไรก็ตามในข้อระบุของ Blue Book Standard ไม่ได้กำหนดว่าซีดีรอมที่จะถูกผลิตภายใต้มาตรฐานจำเป็นต้องเป็นซีดีรอมแบบ Multi - Session
การเก็บรักษาแผ่นซีดี
- ควรจับที่บริเวณด้านข้างของแผ่นซึ่งอาจจะเป็นสันด้านนอกทั้งหมดหรือสันด้านนอกด้านหนึ่งกับขอบวงในก็ได้ ไม่ควรสัมผัสกับแผ่นซีดีโดยตรงโดยเฉพาะด้านที่ใช้เขียนข้อมูล- ควรจัดเก็บในกล่องหรือในซองให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันด้านที่เขียนข้อมูลของแผ่นเป็นรอยอันจะส่งผลให้เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านข้อมูลบนแผ่นได้ - การเขียนฉลากบนแผ่นควรใช้ปากกาเมจิกเท่านั้น ไม่ควรใช้ปากกาลูกลื่นหรือวัตถุที่มีความคม เนื่องจากความคมอาจทำให้สารที่เคลือบอยู่ด้านบนของแผ่นหลุดร่อนออกมา
- ไม่ควรนำสติ๊กเกอร์หรือสก๊อตเทปมาติดเป็นฉลากบนแผ่นซีดี เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อการหมุนแผ่นซีดีจากน้ำหนักที่ไม่สมดุล นอกจากนี้หากต้องการแกะออกก็ทำให้พื้นผิวของชั้นต่างๆด่านบนหลุดออกมาได้
- หลีกเลี่ยงการวางทับแผ่นซีดีด้วยวัตถุที่มีน้ำหนักมากๆ
- ป้องกันไม่ให้แผ่นซีดีสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานๆ หรือเก็บไว้ในบริเวณที่มีความร้อนสูงเกิน 50 องศาเซลเซียส
- หลีกเลี่ยงการล้างแผ่นซีดีด้วยน้ำหรือน้ำยา หากสุดวิสัยจริงๆให้รีบเช็ดด้วยผ้าเนื้อละเอียดแล้วปล่อยให้แห้ง
วิธีเลือกซื้อแผ่นซีดีเปล่าควรพิจารณารายละเอียดดังนี้
- ความเร็ว
- ขนาดความจุ ควรเลือกที่มีความจุสูงสุดเท่าที่จะทำได้
- การเคลือบสารป้องกันแผ่น ควรพิจารณาการเคลือบสาร หากการเคลือบสารป้องกันไม่ดีพออาจส่งผลกระทบกับชั้นที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงเลเซอร์ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้
- สีของแผ่นซีดี แผ่นซีดีที่วางขายจะมีเนื้อสีที่แตกต่างกันแต่ตามมาตรฐานแล้ว จะมีเพียงสีน้ำเงิน ทอง เขียวเท่านั้นควรหลีกเลี่ยงแผ่นซีดีเปล่าสีอื่น
ฟังเพลงได้ด้วย Audio Output and Controlsไดรฟ์ซีดีรอมส่วนมาก จะมีคุณสมบัติพิเศษ ที่ช่วยให้สามารถเล่นและฟังแผ่นซีดีเพลงได้ ซึ่งหน้าตาและปุ่มกดต่างๆในส่วนด้านหน้าของไดรฟ์ซีดีรอมนั้น จะคล้ายคลึงกันดังนี้
1. Stereo Headphone Output เป็นช่องเสียบหูฟังช่องเล็กๆ ที่สามารถ นำหูฟังหรือ Headphones เสียบเข้าไป และฟังเพลงจากแผ่นซีดีเพลงได้ส่วนใหญ่จะมีมาให้ทุกเครื่อง
2. Volume Control Dial ไดรฟ์ส่วนมากจะมีปุ่มปรับระดับเสียงเพื่อให้เลือกปรับระดับความดัง ได้ตามความพอใจ
3. Start and Stop Buttons ไดรฟ์ส่วนใหญ่ จะมีปุ่มที่ใช้ควบคุมการเริ่มต้น และการหยุดเล่นแผ่นซีดี
4. Next Track and Previous Track Buttons ปุ่มควบคุมตัวนี้ จะช่วยให้การทำงานโดยเฉพาะ การเล่นซีดีเพลงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โชคไม่ดีที่ไดรฟ์ส่วนใหญ่ จะตัดปุ่มควบคุมนี้ ซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นถึง 79 เซนต์ต่อตัวออกไปซอฟต์แวร์ที่ใช้เล่นซีดีเพลง นั้นส่วนใหญ่จะแจกฟรี โดยในวินโดวส์ก็มีแถมมาให้พร้อมแล้วในส่วนของ CD Player ซอฟต์แวร์เหล่านี้ จะเอื้ออำนวยความสะดวกใน การเล่นแผ่นซีดีอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแทร็ค การดูเวลาที่เหลือบนแผ่นดิสก์ หรือแม้แต่การกำหนดให้แสดงชื่อของแผ่นซีดี และแทร็ค ถ้าหากติดตั้งโปรแกรมซอฟแวร์เหล่านี้ไว้มันจะเข้าไปควบคุมการทำงาน ทั้งหมดไม่ว่าจะตั้งค่าการควบคุมไว้ที่ตัวไดรฟ์ซีดีรอมหรือไม่ก็ตาม ย่างไรก็ตามประโยชน์ของปุ่มควบคุมด้านหน้า ดังกล่าวข้างต้น จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นมากกว่าเท่านั้นเอง ทำให้บางครั้งจะเห็นว่าบางไดรฟ์นั้นจะมีปุ่มเหล่านี้เพียงปุ่มเดียวหรือสองปุ่มเท่านั้นเอง เนื่องจากเราสามารถไปใช้ การตั้งค่าต่างๆ ในส่วนของซอฟต์แวร์ไดรเวอร์ไดรฟ์ซีดีรอมส่วนใหญ่ จะมีส่วนขยายกำลังเสียงให้แรงขึ้นหรือที่เรียกว่า amplifier อยู่ด้วยแต่คุณภาพของมันเมื่อใช้ฟังจาก headphones โดยตรงนั้นค่อนข้างต่ำ โดยคุณภาพของเสียงที่ผลิตขึ้นมาจากตัวไดรฟ์ซีดีรอม นั้นจะอยู่ในระดับ digital CD audio quality หากต้องการคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นเช่นเสียงเบสที่หนักแน่น และลึกขึ้น, การปรับ trebleที่สูงขึ้นก็ให้ทำการต่อสายซีดีออดิโอผ่านซาวด์การ์ดไปยังวิทยุระบบเสียงสเตอริโอภายในบ้านหรือเครื่องเสียงอื่นๆที่มีตัวขยายเสียง หรือ amplifier ซึ่งมีกำลังวัตต์สูงๆ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น